วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551

พระอนุรุทธะ


พระอนุรุทธะ


พระอนุรุทธะ ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ เป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระเชษฐาร่วมสายโลหิต คือ เจ้าชายมหานามะ ซึ่งต่อมาได้ครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านมีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภคะ และเจ้าชายกิมพิละ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวทหะ ชีวิตในเพศฆราวาสของท่านเต็มไปด้วยความอบอุ่นเนื่องจากพระมารดาทรงรักและดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตระกูลพระญาติทั้งหลาย นิยมให้บุตรหลานออกบวชตาม และเมื่อท่านถูกพระญาติถามถึงเหตุผลที่ไม่ออกบวช ท่านจึงได้ปรึกษากับเจ้าชายมหานามะว่าใครจะออกบวช และเมื่อได้ทราบว่า การที่ต้องเป็นผู้ครองเรือนและผู้ครองเรือนต้องเรียนรู้การงานทุกอย่าง เป็นต้นว่า ต้องทำนาทุกปีเพื่อจะได้มีข้าวไว้บริโภค การทำนาต้องเริ่มต้นด้วยการไถ ไถแล้วจึงคราด คราดแล้วจึงหว่านหรือปลูกข้าวกล้า ครั้นสุกแล้วต้องเก็บเกี่ยวและหอบเข้าลานเพื่อนวด เป็นต้น เจ้าชายอนุรุทธะเมื่อได้ฟังการงานของผู้ครองเรือนยิ่งลำบาก จึงตัดสินพระทัยออกบวช ไปทูลขออนุญาตจากพระมารดา พระมารดาไม่ประสงค์จะให้ออกบวช จึงบ่ายเบี่ยงให้เจ้าชายอนุรุทธะไปชวนเจ้าชายภัททิยะ เมื่อเจ้าชายภัททิยะตกลงพระทัยที่จะออกบวช ทำให้เจ้าชายที่เป็นพระสหายที่เหลือก็ได้ตกลงพระทัยออกบวชตาม
เจ้าชายกลุ่มนี้ได้ออกเดินทางไปขอบวชโดยมีเจ้าชายภัททะยะเป็นผู้นำ ณ อนุปิยอัมพวัน เมื่อบวชแล้ว พระอนุรุทธะได้เจริญสมาธิภาวนาได้ทิพจุกขุญาณ (ตาทิพย์) ภายหลังได้รับคำแนะนำจากพระสารีบุตรเกี่ยวกับมหาปุริสวิตก 8 ประการ ท่านได้เดินทางไปสู่ปาจีนวังทายวันปาจีนวังทายวัน แคว้นเจตี สามารถทำได้บริบูรณ์ 7 ข้อ ส่วนข้อสุดท้ายไม่สามารถทำได้ ได้รับคำแนะนำจากพระพุทธเจ้า จึงเข้าใจและในที่สุดได้บรรลุอรหัตตผลเมื่อบรรลุแล้ว ท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยประกาศพระพุทธศาสนา ท่านมีวัตรปฏิบัติที่น่าศึกษา คือ ความมักน้อย ขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ท่านแสวงหาผ้าบังสกุลตามกองขยะมาทำจีวร เนื่องจากจีวรที่ใช้อยู่ประจำนั้นขาดพระอนุรุทธะได้อยู่ร่วมเหตุการณ์ดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ท่านเป็นผู้แจ้งเหล่ามัลลกษัตริย์ให้อัญเชิญพระศพของพระพุทธองค์เข้าเมืองทางประตูเมืองทิศอุดร (เหนือ) ผ่านกลางเมืองแล้วไปออกทางประตูเมืองด้านทิศบูรพา (ตะวันออก) ก่อนนำไปถวายพระเพลิง ณ มกูฏพันธนเจดีย์ พระอนุรุทธะนิพพานหลังพุทธปรินิพพานนานเท่าใด ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร พระอนุรุทธะ เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ จนกระทั่งได้บรรลุอรหัตผล

2. เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนา เป็นสดมภ์หลักของพระพุทธศาสนารูปหนึ่ง

3. เป็นผู้มีความมักน้อย ถึงแม้ท่านจะเคยเป็นเจ้าชายในราชสกุลมาก่อน แต่ท่านก็มิได้เย่อหยิ่งถือพระองค์แต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับเป็นผู้ที่มักน้อย สันโดษ ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่เคารพยกย่องของผู้อื่นอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น: